วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

สิว (Acne)

สิว (Acne)
สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด มีลักษณะครบคำจำกัดความของคำว่า " โรค" จึงไม่ได้จัดเป็นแค่ปัญหาความงามแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นสิวยังมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะมีการรักษาที่อาจแตกต่างกันออกไป จึงต้องอาศัยการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์
บริเวณที่สิวชื่นชอบมากเป็นพิเศษก็คือ ใบหน้า หน้าอก และหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสิวสามารถเกิดได้จากหลายๆสาเหตุด้วยกัน

ชนิดของสิว แบ่งเป็น
 
1.สิวไม่อักเสบ  เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน (Comedones) แบ่งเป็น 2 ชนิด
1.1 สิวหัวปิด (whiteheads หรือclose comedones) มักจะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ หัวขาว ๆ
1.2 สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ
(blackheads หรือ open comedones)

2.สิวอักเสบ คือสิวที่หัวแดง ๆ หรือ เป็นหนอง ซึ่งพวกนี้ก็คือ comedone ที่มีการติดเชื้อBacteria แทรกซ้อน

นอกจากนั้นยังมีโรคสิวแบบแปลกๆ ที่ระบาดในคนไทยขณะนี้ เช่น สิวแกะเกาซึ่งแต่เดิมพบมากในวัยรุ่นซึ่งรักสวยรักงามมาก มีอาการมือซ้ายถือกระจก มือขวาบีบแกะสิว ทำให้เกิดแผลเป็นมากมาย โรคสิวประเภทนี้จะมีความผิดปกติทางจิตใจ คือเป็นพวกย้ำคิดย้ำทำและมีสภาพจิตซึมเศร้าต้องได้รับการรักษาท างจิตร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย ขณะนี้พบสิวแกะเกาในวัยรุ่นไทยมากขึ้น , สิวเสียดสี พบบริเวณหลังและผิวหนัง ส่วนที่สัมผัสเสียดสีมากๆ เช่น นอนเล่น เครื่องยกน้ำหนัก

สิวจากเครื่องสำอาง มีลักษณะเป็นสิวอุดตันตุ่มเล็กๆ และสิวหัวหนองรอบๆ ปากจึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่เหนียวเหนอะหนะ

สิวจากเจลใส่ผม ซึ่งพบบ่อยในวัยรุ่นชายไทยขณะนี้ เพราะนิยมแฟชั่นผมตั้ง พบเป็นสิวอุดตันตามหน้าผากและขมับ

สิวจากสเตียรอยด์ พบเป็นเม็ดมีขนาดเท่าๆ กัน ตามใบหน้า หน้าอกและหลัง อาจเกิดจากการกินเจือปนสารสเตียรอยด์

สิวจากเชื้อเกลื้อน ที่พบเป็นตุ่มแดงและตุ่มหนองเล็กๆ ที่หน้าอกและหลัง มีอาการคันร่วมด้วย (สิวทั่วไปไม่คัน)

สิวหน้าแดง พบในคนอายุ 30 ปีขึ้นไป มีลักษณะเป็นตุ่มแดง ตุ่มหนองเล็กๆ และเส้นเลือดฝอย การดื่มแอลกอฮอล์และโดนแสงแดดจัด ทำให้สิวชนิดนี้กำเริบได้ และหากเป็นนานๆ จะทำให้จมูกโตผิดรูปร่าง

 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว มีดังนี้

1.1พันธุกรรม(genetic) อาจจะมีประวัติการเป็นสิวในครอบครัว
1.2ฮอร์โมนเพศ ได้แก่ ฮอร์โมน Androgen ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย มีฤทธิ์กระตุ้นให้ต่อมไขมัน(sebaceous gland) ให้มีสร้างไขมันบนผิวหนัง(sebum)เพิ่มขึ้นตามวัยดังนี้
  • 1.2.1 ต่อมไขมันเริ่มสร้าง sebum เมื่ออายุ 3 เดือนและลดการสร้างจนวัดระดับ sebum ไม่ได้เมื่ออายุ 6 เดือน
  • 1.2.2 เริ่มสร้าง sebumใหม่เมื่ออายุ 7-8 ปีและเพิ่มจนมากที่สุดเมื่ออายุ 16-20 ปี ระดับsebumคงที่ และจะลดลงเมื่ออายุ 40 ปี ในผู้หญิง เมื่ออายุ 50 ปีในผู้ชาย
  • 1.2.3  ยิ่งมีการสร้าง sebum มากก็ยิ่งมีการสร้าง comedone มากก็เกิดสิวตามมา คนเป็นสิวส่วนใหญ่มีระดับฮอร์โมนเพศปกติ
1.3 เชื้อแบคทีเรีย Proprionebacterium acne ที่อยู่ในรูขุมขน ซึ่งจะย่อยสลายไขมันทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและเกิดการอัก เสบขึ้น
1.4 Hormone เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในผู้หญิง ตัวอย่างเช่น ในภาวะก่อนมีประจำเดือน หรือขณะตั้งครรภ์ จะมีสิวเพิ่มขึ้น หรือ เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นต่อมไขมันจะมีขนาดโตขึ้นและผลิตไขมันมา กขึ้น
1.5 ความเครียด ท้องผูก เนื่องจากความเครียดจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันหลั่งไขมันออกมามากขึ้น
1.6 ปัจจัยแวดล้อม เช่น การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของลาโนลินและขี้ผึ้ง การล้างหน้าด้วยสบู่บ่อยๆ หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ วิตามินบางชนิด  ยาทาฝ้า สารก่อฟองในสบู่ล้างหน้าหรือแชมพูบางชนิด การสัมผัสสารคลอรีน น้ำมัน ไฮโดรคาร์บอน บางคนอาจแพ้สารเคมีบางชนิดในน้ำมันแต่งผม หรือยาย้อมผม การรับประทานยาบางประเภท เช่น ฮอร์โมน , ยาคุม  เป็นต้น
1.7 การนอนดึกทำให้สิวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสิวอักเสบ อาจเป็นเพราะ
                         1.ร่างกายอ่อนแอ เชื้อ Becteria ในสิว ทำให้มีการอักเสบมากขึ้น
                         2.Hormone เปลี่ยนแปลง
1.8 การล้างหน้าบ่อยๆ อาจเกิดการระคายเคืองทำให้เป็นสิวได้

วิธีป้องกันสิว
สิวเป็นเรื่องธรรมชาติการหลีกเลี่ยงสิวจึงเป็นไปได้ยากแต่ถ้าสา มารถหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวกำเริบ โอกาสเป็นสิวก็จะลดน้อยลง

วิธีปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดสิว มีดังนี้

การรักษาสิวมีหลักง่ายๆ 2 วิธี คือ

1. ถ้าเป็นสิว
ไม่อักเสบ เม็ดเล็กๆ จำนวนไม่มาก ก็ทำความสะอาดผิวหนังและใช้ยาทารักษาสิวบ้างเป็นบางครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการอุดตันของไขมันในรูขุมขน (comedone) ก็พอจะช่วยให้สิวลดลงหรือป้องกันไม่ให้สิวใหม่เกิดขึ้น

2. ถ้าเป็นสิวอักเสบ คงต้องปรึกษาแพทย์ เพราะต้องใช้ปฏิชีวนะ (รับประทานหรือทา
เฉพาะที่แล้วแต่ความรุนแรงของสิว) ซึ่งควรจะต้องรีบรักษา และหลีกเลี่ยงการแกะ หรือบีบ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเป็นรอยแผลเป็น รอยบุ๋ม ขึ้นภายหลัง ซึ่งรักษายากมาก 

การรักษาสิว  มีหลายวิธีซึ่งส่วนมากมักใช้หลายวิธีร่วมกัน ซึ่งในการรักษาสิวส่วนมากใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน

1.ยารับประทาน *** เพื่อความปลอดภัย ควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์เท่านั้น***
-ใช้ในการรักษาสิวชนิดปานกลางถึงรุนแรงมาก
-ส่วนมากต้องใช้เวลานาน 2-4 สัปดาห์ขึ้นไป
 
1.1 ยาปฏิชีวนะ เช่น Tetracycline, Minocycline, Erythromycin, Co-trimoxazole  Amoxycillin , Doxycyclin ฯลฯ ขึ้นอยู่กับลักษณะ และเชื้อbacteria ซึ่งเป็นสาเหตุของสิว

ผลข้างเคียง
-คลื่นไส้อาเจียน,ผื่นคัน,การแพ้ยา,etc....
 
1.2 Retinoid  คือ Isotretinoin (Roaccutane) ส่วนมากใช้ในกรณีที่เป็นสิวรุนแรง

ผลข้างเคียง
-ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง  ตาแห้ง
-มีผลต่อทารกในครรภ์ 
ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
-ความผิดปกติของตับ และ ไขมัน etc.

1.3 ยาคุมกำเนิด : ยาคุมกำเนิดที่สามารถรักษาสิวได้ จะต้องมีส่วนผสมของ Cyproterone acetate ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้าน Hormone เพศชาย ดังนั้นการที่ผู้ชายทานยาคุมกำเนิด สรีระทางร่างกายอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หน้าอกอาจโตขึ้น ไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น แต่ผลเสียก็มีอย่างที่น่ากลัว คือ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ผลเสียอีกอย่างที่อันตรายกว่า คือ คนที่มีประวัติเป็น Migraine หรือมีการอุดตันของเส้นเลือด ต้องห้ามทานยาคุมเด็ดขาด อาจมีการอุดตันของเส้นเลือดในบริเวณอวัยวะสำคัญ ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้

2.ยาทาเฉพาะที่ โดยส่วนมากแพทย์จะใช้ยาในกลุ่มนี้
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นสิวไม่รุนแรงมากนัก  หรือใช้ร่วมกับยารับประทาน ในรายที่เป็นสิวรุนแรง
-ใช้ในสิวที่ไม่รุนแรง เช่น
-Benzoyl Peroxide
-Retinoic Acid
-1% Clindamycin solution
-4% Erythromycin gel
1.Benzoyl Peroxide 
มีขายตามท้องตลาดทั่วไปหลายขนาด เช่น 2.5%,5% ในรูปของ cream หรือ gel  เช่น Panoxyl,Benzac , Brevoxyl

การทำงาน 
-ฆ่าเชื้อ P.acne,ลดการอักเสบ และลดปริมาณไขมันที่ผิวหนัง

วิธีใช้ 
-ทาวันละ 5-10 นาที วันละ 2 ครั้ง แล้วล้างออกด้วยน้ำธรรมดา หรือ สบู่อ่อน
ผลข้างเคียง 
-อาจเกิดการระคายเอง หรือ แพ้โดยมีอาการคัน หน้าแดง ผิวแห้ง หรือ ลอกเป็นขุย
2.Retinoic Acid   แบ่งเป็น 

  1. รักษาความสะอาดโดยล้างหน้าวันละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอเพื่อลดความมันบนใบหน้า เวลาล้างหน้าไม่ควรถูแรงๆ
  2. เลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของไขมัน หรือมีส่วนผผสมของสารเคมีที่ทำให้เกิดสิว
  3. ควรหลีกเลี่ยงการนวดหน้า
  4. อย่าใช้มือที่ไม่สะอาดสัมผัสใบหน้า
  5. อย่าบีบหรือแกะสิว เพราะจะทำให้เกิดรอยแผลเป็น
  6. อย่าปล่อยให้ผมมัน สำหรับผู้ที่มีผมมันมีรังแค ควรสระผมบ่อยๆ พร้อมทั้งงดการใช้น้ำมันใส่ผม
  7. หลีกเลี่ยงความเครียด อารมณ์หงุดหงิดและการนอนดึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น